ให้มีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์มากขึ้น พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงจากเดิมกรุงเทพมหานครเป็นผู้ลงทุนมาเป็นให้เอกชนสร้าง องค์กรด้านศิลปะ ศิลปิน อาจารย์ นักศึกษา และสื่อมวลชน ได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมคัดค้านการระงับโครงการเดิม มีการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครในสมัยนั้น ทบทวนโครงการรวมทั้งการจัดกิจกรรมวาดภาพเขียนยาว 4 กิโลเมตร ในหัวข้อ ฉันเรียกร้องหอศิลป์ไม่เอาศูนย์การค้า
การดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระงับโครงการฯ และการจัด ART VOTE โหวตเพื่อหอศิลป์ กระทั่งนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในปี 2547 เครือข่ายศิลปินและประชาชนจึงได้นำโครงการหอศิลป์เข้าหารือ และได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการจัดสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตามโครงการเดิม พื้นที่แสดงศิลปะ จัดแสดงงานทัศนศิลป์บนพื้นที่ 3,000 ตารางเมตร ที่ชั้น 7-9 และอีก 1,000 ตารางเมตร ในพื้นที่ต่าง ๆ ของชั้น L ถึงชั้น 5
ที่ตั้ง : อยู่ที่สี่แยกปทุมวัน หัวมุมถนนพระราม 1 และถนนพญาไท ตรงข้ามห้างมาบุญครอง และสยามดิสคัฟเวอรี่ โทร. 0-2214-6630-8
เวลาเปิดบริการ : วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-21.00 น. (หยุดวันจันทร์)
ส่วนสำนักงาน เปิดทำการตั้งแต่เวลา 9.30-18.30 น.
การเดินทาง : รถประจำทางที่ผ่าน : สาย 15, 16, 21, 25, 29, 34, 36, 40, 47, 48, 50, 54, 73, 73ก, 79, 93, 141, 159, 204, ปอ.501, ปอ.508 และ ปอ.529
เรือ : เรือสายในคลองแสนแสบ เส้นทางสะพานผ่านฟ้า-ประตูน้ำ ขึ้นที่ท่าเรือสะพานหัวช้าง เดินเลียบถนนพญาไทประมาณ 300 เมตร ถึงหอศิลปฯ สี่แยกปทุมวัน
รถไฟฟ้า : ลงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ โดยชั้น 3 ของหอศิลปฯ มีทางเดินเชื่อมต่อกับทางยกระดับสถานี รถไฟฟ้า BTS สนามกีฬาแห่งชาติ
รถยนต์ : เดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ
- เส้นทางถนนพญาไท (จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ข้ามสะพานหัวช้าง ชิดขวาเข้าทางเข้า หอศิลปฯ (ก่อนข้ามสี่แยกปทุมวัน)
- เส้นทางถนนพระราม 1 (จากสนามกีฬาแห่งชาติ) เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพญาไท และเลี้ยวซ้าย เข้าทางเข้าหอศิลปฯ